ครูโอ้ออนไลน์ (e-Learning) | โรงเรียนโชคชัยสามัคคี
  หน้าหลัก    ข่าวย้อนหลัง    ข่าวสาระน่ารู้ 
รายละเอียดข่าว
 
  การติดสิ่งเสพติด เกม และ…..  

     

อบรมนักเรียนหน้าเสาธง วันที่ 29 พฤษภาคม 2556

การติดสิ่งโน่น สิ่งนี่ สิ่งนั่น เช่น ยาเสพติด เกม และอื่นๆ ที่ออกฤทธิ์ส่งผลให้ติดเหมือนกัน มันเกิดจาก สมอง ได้รับการกระตุ้น จากสิ่งที่เราเสพ ไม่ว่าจะเป็นยาเสพติด เกม อะไรๆ อีกเยอะแยะ เมื่อได้รับการกระตุ้น ไอ้สมองส่วนนี้มันจะหลั่งสารที่มีความสุขออกมา เราก็จะรู้สึกมีความสุข สนุกสนาน ร่าเริง สดใส หัวเราะ ยิ้ม พูดง่ายๆ ลืมความทุกข์ ความเศร้า ซึ่งปกติสมองส่วนนี้ จะหลั่งสารทำให้มีความสุขต่อเมื่อ เราได้รับความสุข จากความปลื้มปิติ ความภาคภูมิใจ การสมหวังในสิ่งที่เราหวัง การได้รับคำชม ของขวัญ ที่ถูกใจ อะไรๆ อีกเยอะแยะ …..

ทีนี้ มันจะมีคนที่ไม่เคยได้รับความสุขจริงๆ เหล่านี้ หรือกำลังประสบปัญหามรสุมชีวิต สมองส่วนนี้ก็ไม่เคยหลั่งสารความสุขนี้เลย พอได้ลอง เพื่อนชวน ใครชวน หรือมีโอกาสอยากลองสิ่งเหล่านี้ ยาเสพติด มันจะทำให้สมองของเขารับสารเหล่านี้เข้าไป
แล้วไปกระตุ้นให้สมองหลั่งสารความสุขออกมา จากคนไม่เคยมีความสุข พอได้รับความสุขจากสิ่งเหล่านี้ มันจึงอยากเสพยาเหล่านี้ แท้จริงแล้ว มันไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง เป็นเพียงความสุขที่บังคับให้เกิดขึ้นเท่านั้น มันเหมือนหลอกตัวเอง……

เกมก็เหมือนกัน ไม่ได้รับสาร แต่จากการเล่นเกม มันต้องใช้ความพยายาม ให้ชนะผ่านด่านแต่ละด่านของเกม มันเหมือนประสบความสำเร็จ เราก็จะเกิดความสุข สมองก็จะหลั่งสารความสุขออกมา มันก็ไม่ได้เป็นความสำเร็จหรือความสุขที่แท้จริง โลกของความเป็นจริงไม่มีอะไรทำสำเร็จ เพราะมัวแต่เล่นเกม นั่นเอง….

เมื่อสมองได้รับบ่อยเข้าๆ มันไม่เป็นธรรมชาติ สมองมันก็ติด พอไม่ได้รับสิ่งเหล่านี้กระตุ้น มันก็เกิดอาการอยาก เหมือนๆ เราหิวข้าว หิวโน่น หิวนี่ นั่นแหละ ไม่เคยมีใคร หิว หรือ อยากในสิ่งที่ไม่เคยได้เสพ หรือ กิน เพราะฉะนั้นอย่าได้ไปลอง ถ้าถึงขั้นที่เราที่เราควบคุมมันไม่ได้ เมื่อนั้นเราจะเป็นทาสมัน เพราะมันยึดสมองเราเพื่อควบคุมเราเรียบร้อยแล้ว….

ส่วนเรื่องของการติดเกม ขนาดไหนถึงเรียกว่าติดเกม มาสำรวจตัวเองกัน ว่านักเรียนติดเกมหรือไม่?

  • พอกลับถึงบ้าน รีบวิ่งไปเปิดเล่นเกมก่อนอื่นใด
  • เล่นเกมติดต่อกันนานๆ คราวละ 2-3 ชั่วโมง
  • เล่นเกมจนดึกดื่น ตื่นมาเล่นเกมตอนเช้ามืด
  • มีแนวโน้มจะเพิ่มเวลาเล่นเกมมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
  • ไม่พอใจเวลาใครมารบกวนขณะกำลังเล่นเกม
  • ไม่พอใจเวลาถูกบอกให้เลิกหรือลดเวลาเล่นเกม
  • ไม่ยอมออกไปเที่ยวนอกบ้าน กลัวเสียเวลาเล่นเกม
  • ไม่ยอมช่วยทำงานบ้าน งานพิเศษ กลัวเสียเวลาเล่นเกม
  • การเรียนหรือการทำงานตกลงในช่วงที่เล่นเกม
  • อ่อนเพลียไม่แจ่มใสเวลาไม่ได้เล่นเกม
  • ปฏิเสธสังคม คนรอบข้าง จะเล่นเกมท่าเดียว
  • พฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น ก้าวร้าว ขี้โมโห พูดคำหยาบ
  • เจ็บป่วยบ่อย เช่น ปวดหัว ปวดตา กระเพราะปัสสาวะอักเสบ เพราะนั่นนานเกินไป
  • มีภาพเกมในหัว เกือบตลอดเวลา

ถ้านักเรียนมีอาการอย่างที่กล่าวมา แสดงว่านักเรียนติดเกมแล้ว ให้ลดเวลาเล่นเกมลง ใช้เวลาที่จะเล่นเกม ไปทำกิจกรรมอย่างอื่นแทน ถ้าทำไม่ได้ให้ไปปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อบำบัดต่อไป จะได้กลับมาใช้ชีวิตในโลกของความเป็นจริง สร้างความสุขที่แท้จริง จากสิ่งเล็กๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อเอง พ่อแม่ พี่น้อง คนรอบข้าง และสังคมโดยรอบ แล้วค่อยๆ เพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้นๆ ไปตามระดับความรู้ ความสามารถ และโอกาส เพียงเท่านี้เราก็มีความสุขได้ โดยไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด และเกิดความภาคภูมิใจได้โดยไม่ต้องพึ่งเกมอย่างเดียวอีก ต่อไป             

โดย  ครูโอ้ออนไลน์

 






ประกาศโดย : ณัฏฐชัย ฉลาด
วันที่ประกาศ : 2556-06-09